top of page

OUR

ARTICLES

ธีรชัย จำปีแก้ว

หลายองค์กรชอบ WFH แต่พนักงานส่ายหัว ทำอย่างไรให้สองฝ่ายพอใจเหมือนบริษัท “Google”

การทำงานภายใต้มาตรการ “Work from Home” หรือรูปแบบการทำงานจากที่บ้าน (WFH) ได้เข้ามามีบทบาทและกลายเป็นนโยบายหลักของหลายองค์กรไปแล้ว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19


ปวดตาจากการใช้คอมพิวเตอร์


โดยมีผลสำรวจจากสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พบว่าในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีคนไทย WFH ร้อยละ 42.72 และทำงานที่ออฟฟิศสลับ WFH ร้อยละ 34.45 ซึ่งยังมีความเห็นอีกว่าการ WFH ทำให้รู้สึกปลอดภัยและสามารถลดการแพร่เชื้อ COVID-19 ร้อยละ 74.82

ข้อดีของการ Work from Home ในมุมขององค์กร


มีรายงานจากผลการศึกษาหลายแห่ง ชี้ให้เห็นถึงข้อดีเกี่ยวกับองค์กรที่ให้พนักงาน Work from Home โดยเว็บไซต์ด้านธุรกิจและการเงินในสหรัฐอเมริกา“Forbes” ได้มีการรวบรวมข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับการทำงานจากที่บ้าน ซึ่งเป็นการยกตัวอย่างจากองค์กรชั้นนำหลายแห่ง เช่น บริษัทจัดทำโพล Gallup, องค์กรที่ปรึกษาด้านการวิจัย Global Workplace Analytics หรือแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่าง Harvard University และ Stanford University


จากข้อมูลเหล่านี้สามารถสรุปเป็นข้อดีออกมา 5 ข้อด้วยกัน สำหรับสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อให้พนักงานทำงานแบบ Work from Home และการทำงานนอกสถานที่

1. การทำงานมีประสิทธิภาพ

พนักงานที่ทำงานจากที่บ้านหรือทำงานนอกสถานที่ มักทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าพนักงานที่เข้าทำงาน

ในออฟฟิศ หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สามารถเฉลี่ยได้มากถึง 35 – 40% ทั้งยังพบอีกว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนชิ้น

งานได้มากจากเดิมอย่างน้อย 4.4%


2. เพิ่มคุณภาพการทำงาน

การทำงานจากที่บ้านแน่นอนว่าไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังออฟฟิศ จึงไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่ทำงาน และพบว่า

ความยืดหยุ่นดังกล่าวนี้ส่งผลให้พนักงานมีผลงานดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังพบอีกว่าความผิดพลาดจากคุณภาพของ

งาน มีลดน้อยลง 40%


3. พนักงานมีส่วนร่วมในการทำงาน

การใช้มาตรการ WFH จะช่วยส่งผลในเชิงบวกให้แก่องค์กร ด้านของผลผลิตจากการทำงานในปริมาณที่มากขึ้น

รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น จึงหมายความว่าการมีส่วนร่วมในการทำงานของพนักงานจะสูงขึ้น

ตาม ทั้งยังส่งผลให้การขอลางาน หรือขอลาหยุดน้อยลงจากเดิมมากถึง 41%


4. ช่วยรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรต่อไป

พนักงานจำนวน 54% เปิดเผยว่าพวกเขาเคยคิดวางแผนเปลี่ยนงาน หรือหางานใหม่ที่มีความยืดหยุ่นในการ

ทำงาน แต่การที่บริษัทอนุญาตให้ WFH หรือทำงานที่บ้าน รวมไปถึงการทำงานนอกสถานที่ ส่งผลให้พวกเขาคิด

จะลาออกลดน้อยลงถึง 12%


5. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำผลกำไร

การให้พนักงาน WFH หรือออกไปทำงานนอกสถานที่ ก็สามารถส่งผลดีให้แก่องค์กรในด้านของค่าใช้จ่าย เมื่อมี

การพบว่าจะสามารถช่วยให้ออฟฟิศประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากเฉลี่ยปีละ 11,000 เหรียญสหรัฐ หรือเป็นเงินไทย

ประมาณ 330,000 บาท ซึ่งสามารถทำผลกำไรได้มากขึ้นจากเดิมถึง 21% เลยทีเดียว


จากทั้ง 5 ข้อนี้คือข้อดีที่องค์กรได้รับ แต่กลับกันในมุมของพนักงานอาจไม่เป็นเช่นนั้น! เพราะจากผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,553 คน พบข้อเสียของการทำงานจากที่บ้าน โดยคิดเป็นปัญหาหลักและคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ ดังนี้


> ค่าใช้จ่ายด้านค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าอินเทอร์เน็ต มีเพิ่มขึ้นมากถึง 65.80%

> อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการทำงานไม่สะดวกเหมือนการทำที่ทำงาน 62.08%

> การติดต่อสื่อสาร การติดต่อประสานงาน และการประชุม ไม่สะดวก ส่งผลให้ล่าช้า 45.97%


นอกจากนี้ยังมีพนักงานอีกหลายคนออกมาพูดถึงข้อเสียอื่นๆ เกี่ยวกับการ WFH ที่แม้จะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ก็ยังมีข้อเสียต่างๆ อีกมากมาย โดยรวบรวมมาพอสังเขปได้ดังนี้


1. สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้การทำงาน

มีพนักงานจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหากับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ไม่พร้อม มุมทำงานไม่

น่าทำงาน คนในบ้านไม่เข้าใจระบบการทำงาน เสียงรบกวนทั้งในบ้านและนอกบ้าน หรือการถูกเรียกประชุมตลอดทั้ง

วัน ซึ่งแม้บางคนจะไม่มีปัญหากับการ WFH แต่ถือเป็นส่วนน้อยมากๆ กับจำนวนคนทำงานในปัจจุบัน และแน่นอน

ว่าสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ก็อาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงาน และคุณภาพของผลงานลดน้อยลง


2. การทำงานล่าช้าลง

ความเอื่อยเฉื่อยของพนักงานบางคนที่จะทำงานได้ล่าช้าลงเมื่ออยู่นอกสายตาของหัวหน้าหรือนายจ้าง การ WFH

จึงอาจทำให้พนักงานรายนั้นอู้งานได้แบบไม่รู้ตัว งานที่ควรจะเสร็จตามกำหนดก็อาจต้องถูกเลื่อนออกไปเพราะ

ความเอื่อยเฉื่อยหรือล่าช้า ด้วยการที่ไม่สามารถติดตามงานได้สะดวกเหมือนตอนทำงานที่ออฟฟิศ นายจ้างหรือหัว

หน้าหลายๆ คนจึงเลือกที่จะติดตามงานอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจจะได้ผลดีแต่ก็ต้องแลกด้วยการเสียเวลาในการ

ติดตามงาน อีกทั้งยังอาจทำให้พนักงานรู้สึกอึดอัดใจกับการถูกตามงานอย่างใกล้ชิด ทางที่ดีควรมีการวางระบบ

การตามงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อความสบายใจทั้งสองฝ่าย


3. ค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเพิ่มขึ้น

แม้การ WFH จะไม่มีค่าการเดินทาง แต่การทำงานที่บ้านก็อาจจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น อย่างการลงทุนซื้อ

อุปกรณ์ในการทำงานเพิ่มเติม เพื่อความสะดวกในด้านการทำงานให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะทำงาน เก้าอี้

หมอนรองหลัง หรืออุปกรณ์การทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน หรืออาจหนักถึงขั้นต้องซื้อคอมพิวเตอร์

ใหม่กันเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมดนี้ล้วนมีค่าใช้จ่ายมากมาย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงค่าน้ำ ค่าไฟ ค่า

อินเทอร์เน็ตที่บางคนไม่ได้ใช้ Wi-Fi แต่ต้องแชร์ฮอตสปอตจากโทรศัพท์มือถือแทน ยังไม่นับรวมถึงสวัสดิการ

ต่างๆ ที่ดูเหมือนจะเล็กน้อยแต่เราต้องเปลี่ยนมาเสียเงินซื้อเอง เช่น น้ำดื่ม หรือกาแฟ เป็นต้น


4. ระบบความปลอดภัยของข้อมูล

อีกหนึ่งความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ก็คือข้อมูลความลับของบริษัท เพราะการทำงานแบบ WFH ก็ไม่ต่างอะไรกับ

นำข้อมูลความลับออกไปอยู่นอกสายตากับพนักงานคนที่ถือข้อมูล นั่นจึงถือเป็นความเสี่ยงที่ข้อมูลจะสามารถรั่ว

ไหลออกสู่ภายนอกได้ง่าย ไม่ว่าจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ดังนั้นองค์กรจึงต้องกำชับหรือทำ

แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลแก่พนักงาน เพื่อการรักษาความลับของบริษัท


5. ติดต่องานยากมากขึ้น

การติดต่อสื่อสารในการทำงานนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าเป็นกรณีที่ทำงานใน

ออฟฟิศตามปกติเราสามารถเดินไปติดต่อพูดคุยได้ทันที แต่การทำงานภายใต้มาตรการ WFH สามารถส่งผลด้าน

การติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้ยากมากยิ่งขึ้น เช่น การสื่อสารที่เข้าใจกันยากผ่าน VDO Conference

หรือคู่สนทนามองไม่เห็นข้อความที่เราส่งไป ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจทำให้งานคลาดเคลื่อน ผิดพลาด หรือล่าช้าได้เป็น

อย่างมาก


แต่อย่างไรก็ตาม การทำงานที่บ้านหรือมาตรการ Work from Home ยังอาจมีความจำเป็นอยู่ในช่วงเวลานี้ แล้วองค์กรควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความพึงพอแก่ทั้ง 2 ฝ่าย องค์กรก็ได้งานที่มีคุณภาพ ตรงเวลา พนักงานก็สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น ไม่เหมือนโดนองค์กรกำลังเอาเปรียบ


จากประเด็นนี้เราจึงมีคำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรที่ยังให้พนักงาน Work From Home เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพแก่ทุกฝ่าย ทั้งเจ้าของธุรกิจ ผู้บริหาร หัวหน้า และพนักงาน ซึ่งจะประกอบไปด้วย 6 หลักการ ดังนี้


1. Human

องค์กรจะต้องมีการออกแบบและสร้างประสบการณ์ในการทำงานที่ดีให้แก่พนักงาน เพื่อการทำงานที่มี

ประสิทธิภาพ ทั้งยังต้องเป็นการออกแบบที่สามารถทำให้องค์กรและพนักงานมีความสุข พร้อมที่จะปฏิบัติงานตาม

รูปแบบขององค์กร


2. Structure

ในการทำงานรูปแบบ Work from Home จะต้องมีการวางรากฐานสำคัญ หรือโครงสร้างในการทำงาน ว่าจะ

ต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญไปที่เรื่องไหน และระยะเวลาในการทำงานรูปแบบต่างๆ ที่ได้กำหนดมา จะสามารถทำให้

สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันได้อย่างไร


3. Leadership

ทำการตกลงเรื่องวิธีการและการรับงานต่างๆ กับพนักงาน ว่าจะมีการแบ่งการทำงานอย่างไร โดยในเรื่องของการ

เป็นผู้นำนั้นถือเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่ง ว่าการวางตัวและการปฏิบัติแบบไหนที่จะทำให้ชนะใจพนักงาน ซึ่งเรื่องนี้

ควรเป็นการทำการตกลงระหว่างกันทั้งสองฝ่าย


4. Technology

การทำงานที่บ้านอาจขาดความพร้อมในด้านอุปกรณ์การทำงาน จึงควรมีตัวช่วยในการเสริมสร้างประสบการณ์

ทำงานจากที่บ้าน หรือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้การทำงานระหว่างองค์กรและพนักงาน สามารถทำงาน

ด้วยกันได้ง่ายและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น


5. Workplace

การประชุมหรือการคุยงานร่วมกันผ่านรูปแบบทางไกล ควรมีการกำหนดเวลาให้ชัดเจน ว่าช่วงเวลาไหนถึงจะเหมาะ

สม และช่วงเวลาไหนควรให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เพื่อไม่เป็นการรบกวนการทำงาน


6. Community

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและองค์กร โดยจะต้องมีกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ที่สามารถทำให้

พนักงานมีความสุข ไม่ตึงเครียดมากจนเกินไปในระหว่างที่ทำงานแบบ WFH เพราะพนักงานหลายคนอาจมี

ความเครียดสะสมจากการไม่ได้ออกไปพบปะผู้คนหรือเพื่อนร่วมงานนานๆ


นอกจากหลักการปฏิบัติหรือการปรับตัวในเรื่องต่างๆ ต้องไม่ลืมว่า “อุปกรณ์การทำงาน” ก็นับเป็นเรื่องสำคัญในการทำงานแบบ Work from Home เพราะพนักงานต้องย้ายการทำงานไปอยู่ที่บ้าน ซึ่งแน่นอนว่าอาจไม่สะดวกเท่าการทำงานที่ออฟฟิศ ด้วยข้อจำกัดด้านอุปกรณ์


จะดีแค่ไหน...?? หากองค์กรสามารถเข้ามาสนับสนุนพนักงานในเรื่องนี้ได้


ยกตัวอย่างกรณีขององค์กรชั้นนำระดับโลกอย่าง “Google” บริษัทเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกา โดยนโยบายการ WFH ขององค์กรเหล่านี้ไม่ได้หวังผลลัพธ์ของการทำงานจากที่บ้านแค่การลดการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 แต่ยังหวังให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายไปในตัว


โดยใจความสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ Google ได้มีการมอบเงินจำนวน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราว 32,000 บาท เพื่อใช้สำหรับการซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ในสำนักงานที่จำเป็นต่อการทำงานภายใต้มาตรการ WFH


ด้านซันดาร์ พิชัย CEO ของ Alphabet และ Google ได้มีการส่งจดหมายเปิดผนึกถึงพนักงานบริษัท โดยระบุว่า ทาง Google จะไม่มีนโยบายเร่งการเรียกตัวพนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ หรือให้พนักงานเข้ามาปฏิบัติงานอีกครั้ง และจะดำเนินการไปด้วยความระมัดระวังอย่างค่อยเป็นค่อยไป อีกทั้งพวกเขายังมีการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อให้พนักงานทุกคน สามารถทำงานจากที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกมากที่สุด


โดยให้เหตุผลต่ออีกว่า พนักงานของ google ส่วนใหญ่จะยังต้องทำงานจากที่บ้านเป็นหลักต่อไป นี่จึงเป็นเหตุผลที่จะทำการมอบเงินจำนวนที่กล่าวไปข้างต้น หรือในมูลค่าที่ใกล้เคียงกันกับค่าเงินในประเทศของพนักงานแต่ละคน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้ออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการทำงาน รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น


ทั้งนี้ google ก็ได้มีกระบวนการกลับมาเปิดอาคารสำนักงานของพวกเขาอีกครั้ง ภายใต้มาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม การเพิ่มระดับการรักษาความสะอาด รวมถึงการจำกัดจำนวนบุคลากรในสำนักงานเข้ามาใช้อย่างเคร่งครัด


โดยในก่อนหน้านี้ด้าน google นำโดยซันดาร์ พิชัย ก็เคยได้ออกมาเปิดเผยเมื่อปี 2020 ว่าองค์กรยินดีที่จะให้พนักงานทุกคนทำงานจากที่บ้านตั้งแต่ช่วงที่มีการแพร่ระบาดหนักของ COVID-19 จนถึงสิ้นปี 2020 ที่ผ่านมา เพื่อความปลอดภัยในด้านสุขอนามัย ซึ่งยังนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของการรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย


อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงนี้ ยังอาจทำให้บริษัทต่างๆ ยืดระยะเวลาในการให้พนักงาน WFH ออกไปอีก ดังนั้นจึงควรมีแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้พนักงานและองค์กร สามารถทำงานร่วมกันจากคนละที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆด้าน


...“เพราะพนักงานคือคนสำคัญ”...



ข้อมูลจาก

THE STANDARD, CREATIVE TALK, SANOOK, THAIWARE, ไทยโพสต์



Comments


2 Soi Rong Muang 5, Rong Muang Rd.

Rong Muang, Pathum Wan Bangkok 10330

Tel: 02 092 9222 Ext. 5107     |     Sales@benix.co.th

bottom of page