top of page

OUR

ARTICLES

โรงพญาบาลพญาไท

ปัสสาวะบ่อย อย่าละเลย! อาจเสี่ยงต่อมลูกหมากโต..หรือร้ายแรงถึงขั้นมะเร็ง

“ต่อมลูกหมาก” อวัยวะของคุณผู้ชาย มีหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ อยู่บริเวณรอบท่อปัสสาวะติดอยู่กับกระเพาะปัสสาวะ โดยกลุ่มผู้ป่วยที่เกิดโรคต่อมลูกหมากมีตั้งแต่อายุน้อยๆ และพบได้มากขึ้นในผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป ดังนั้น หากคุณชอบปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่หมด อย่าวางใจ... เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคต่อมลูกหมากที่ร้ายแรง!


ปัสสาวะบ่อยอาจะเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก

“ต่อมลูกหมากโต” ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็น...มะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับคุณผู้ชายที่อายุเยอะขึ้นมาหน่อย จะมีความเสี่ยงเป็นต่อมลูกหมากโต หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก แม้ทั้งสองโรคนี้จะมีอาการเบื้องต้นที่คล้ายคลึงกัน เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่หมด ปัสสาวะกลางดึกหลายครั้ง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตจะต้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเสมอไป


ต่อมลูกหมากโตไม่ได้ร้ายแรง...แต่ไม่ควรละเลย

ยิ่งอายุมากขึ้น เปอร์เซ็นต์ที่ต่อมลูกหมากโตจะยิ่งมีมากขึ้นไปด้วย ดังนั้นการตรวจสุขภาพของคุณผู้ชายที่อายุ 50 ปีขึ้นไปจึงเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบโอกาสที่ต่อมลูกหมากโตจะพัฒนาไปเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย โดยการรักษาอาการต่อมลูกหมากโตเบื้องต้นคือ การทานยา แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ


> ทานยาเพื่อขยายท่อปัสสาวะ

> ทานยาเพื่อลดขนาดต่อมลูกหมาก


แต่หากผู้ป่วยทานยาแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดที่มีหลายวิธี และผู้ป่วยสามารถเลือกได้ ซึ่งเป็นการผ่าตัดส่องกล้องที่ไม่มีแผลภายนอก และใช้เวลาพักฟื้นเพียงไม่กี่วัน โดยการผ่าตัดมีหลายวิธี เช่น


> การคว้าน เป็นวิธีการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตที่เป็นมาตรฐานโลก คว้านโดยการส่องกล้องเข้าไปขูดเนื้อรอบๆ เพื่อทำให้รูกว้างขึ้น

ข้อดี : ไม่มีบาดแผลภายนอก พักพื้น 3 - 4 วัน สามารถส่งชิ้นเนื้อไปตรวจวินิจฉัยโรคต่อได้

ข้อเสีย : การผ่าตัดต้องคว้านชื้นเนื้อเล็กๆ จำนวนมาก ระหว่างการผ่าตัดจึงอาจทำให้เสียเลือดได้


> การเลเซอร์ หรือที่เรียกว่า “กรีนไลท์” คือการใช้แสงเลเซอร์ไปเผา ให้เนื้อที่ขวางทางเดินปัสสาวะระเหิดหายไป

ข้อดี : ไม่เสียเลือด ไม่มีแผลภายนอก พักพื้น 3 - 4 วัน

ข้อเสีย : ไม่สามารถส่งชิ้นเนื้อไปตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคต่อไป


> การใส่ท่อ (Stent) เพื่อขยายท่อปัสสาวะ สำหรับคนไข้ที่ไม่ต้องการผ่าตัด

ข้อดี : ไม่ต้องผ่าตัด

ข้อเสีย : ท่อมีโอกาสเคลื่อนหรือหลุด และอาจมีการติดเชื้อที่ Stent ได้


การตรวจหาต่อมลูกหมากโต

1. การตรวจร่างกายโดยการคลำต่อมลูกหมาก ขนาดของต่อมลูกหมากสามารถระบุได้เบื้องต้นว่าต่อมลูกหมาก โตหรือไม่ ถ้าต่อมลูกหมากมีลักษณะแข็ง ขรุขระ ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือถ้ามีอาการเจ็บที่ ต่อมลูกหมาก อาจเกิดจากอาการต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นต้น

2. การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA, free PSA) ผ่านการตรวจเลือด เพื่อดูค่าและโอกาสที่จะเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก

3. การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจดูว่าต่อมลูกหมากมีอาการอักเสบหรือไม่

4. การอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากผ่านทางหน้าท้อง หรือทวารหนัก


อย่ามองข้ามอาการเล็กๆ น้อยๆ ของคุณ สำหรับผู้ชายอายุ 50 ขึ้นไป หากรู้สึกว่าปัสสาวะได้ช้าลง ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะเป็นช่วงๆ ควรพบแพทย์เพื่อหาทางรักษา และหมั่นตรวจต่อมลูกหมากเป็นประจำทุกปี เพราะต่อมลูกหมากโต...เรารักษาได้


#โรคต่อมลูกหมาก #ต่อมลูกหมาก #ต่อมลูกหมากโต #ต่อมลูกหมากอักเสบ #มะเร็ง


บทความจาก


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ

โรงพยาบาลพญาไท 2

โทร 02-617-2444 ต่อ 4125,4185


Commentaires


2 Soi Rong Muang 5, Rong Muang Rd.

Rong Muang, Pathum Wan Bangkok 10330

Tel: 02 092 9222 Ext. 5107     |     Sales@benix.co.th

bottom of page