top of page

OUR

ARTICLES

พญ.ธิศรา วีรสมัย, โรงพยาบาลพญาไท

การตรวจพันธุกรรมเพื่อคัดกรองความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง

หลายคนอาจสงสัยว่า การตรวจคัดกรองความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง (Genetic Screening Test for Cancer Risk) มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด และเมื่อตรวจพบความเสี่ยงแล้วต้องทำอย่างไรต่อไป แล้วทำไมโรคมะเร็งจึงเกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์ชะลอวัย พญ.ธิศรา วีรสมัย สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัว และหัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย จึงมาไขข้อสงสัยดังกล่าวให้ได้ทราบกัน


การตรวจพันธุกรรมเพื่อคัดกรองโรคมะเร็ง


เวชศาสตร์ชะลอวัยไม่ใช่แค่เรื่องความงาม

เมื่อพูดถึงเวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-Aging Medicine) คนส่วนใหญ่มักคิดไปถึงการดูแลผิวพรรณ หรือความงามเพื่อให้ดูอ่อนวัย แต่ความหมายที่ลึกซึ้งกว่านั้นก็คือ เวชศาสตร์ชะลอวัย เน้นการวิเคราะห์ร่างกายแบบเจาะลึกในเชิงป้องกัน ซึ่งเป็นการตรวจวิเคราะห์แบบลงลึกถึงระดับเซลล์ เพื่อให้รู้ถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ และหาทางป้องกัน ฟื้นฟู ชะลอความเสื่อมของเซลล์ หรือโรคที่อาจจะที่เกิดขึ้นได้ในแต่ละบุคคลซึ่งแตกต่างกัน การป้องกันและรักษาจะเป็นการปรับสมดุลกลไกแบบองค์รวม การวางแผนการตรวจสุขภาพในจุดเสี่ยง อันนำไปสู่เป้าหมายของการมีสุขภาพดี และมีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ


การดูแลสุขภาพแบบปกติยังไม่เพียงพอ

หลายครั้งที่เราสงสัยว่าทำไมบางคนดูสุขภาพแข็งแรง ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ทำงานหักโหม แต่สุดท้ายกลับพบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็ง หลายรายล้มป่วยเฉียบพลัน เมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็งก็เป็นระยะสุดท้ายเสียแล้ว! นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เวชศาสตร์ชะลอวัยจะเข้ามามีส่วนช่วยได้ เพราะการดูแลสุขภาพด้วยตัวเองอาจจะยังไม่เพียงพอกับความเสื่อมของเซลล์ และความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ

มะเร็งตายอันดับหนึ่งของโลก

โรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ และเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประชากรโลก ซึ่งนอกจากปัจจัยก่อมะเร็ง เช่น มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือได้รับสารรังสีแล้ว อีกสาเหตุสำคัญก็คือ ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม


ผู้ป่วยหลายรายที่ตรวจสุขภาพเป็นประจำ แต่กลับไม่ได้ช่วยให้ตรวจพบโรคมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ นั่นก็เพราะการตรวจสุขภาพแบบทั่วไป ได้รับการออกแบบมาสำหรับคนส่วนใหญ่แบบกว้างๆ ซึ่งอาจไม่เจาะลึกเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมต่อการเกิดมะเร็ง เพราะการตรวจคัดกรองแบบตรวจสุขภาพ เช่น MAMMOGRAM ตรวจภายใน ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เช่น Tumor Markers จะพบความผิดปกติเมื่อเกิดโรคมะเร็งขึ้นแล้ว


ปัจจัยทางพันธุกรรมจะทำให้คนๆ หนึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากกว่าคนทั่วไป เป็น 10 ถึง 100 เท่า ในปัจจุบัน เราสามารถตรวจความเสี่ยงนี้ได้ด้วยการตรวจยีน หรือการตรวจ DNA เพื่อทราบว่าใครมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดมะเร็งในอนาคต ทั้งมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งสำคัญอื่นๆ อีกหลายชนิด ก่อนที่จะเกิดโรคมะเร็งขึ้น


เมื่อทราบผลว่ามีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งจากการตรวจยีน แพทย์จะวางแผนการดูแลสุขภาพเชิงลึก และเชิงรุก โดยระบุปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อาหาร การใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดมะเร็งนั้นๆ และวางระบบการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต (Total Lifestyle Modification) ทั้งการจัดอาหารที่ควร และไม่ควรรับประทาน การออกกำลังกายที่เหมาะสม วางแผนการตรวจเชิงลึกสำหรับมะเร็งตามผลตรวจทุก 6-12 เดือน ได้แก่ การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร การตรวจเอกซเรย์ CT Scan หรือ MRI รวมตลอดจนการผ่าตัดเชิงป้องกัน ดังเช่น ตัวอย่างดาราฮอลลีวูดชื่อดัง คุณแองเจลิน่า โจลี่ที่ทำการผ่าตัดเต้านมแบบสงวนเต้า หลังจากตรวจยีนแล้วพบความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงมากเมื่ออายุมากขึ้น นับเป็นตัวอย่างที่ดียิ่งในการตรวจชะลอวัยเชิงลึกแบบครบวงจร ในการป้องกันการเกิดโรคแห่งความเสื่อม และมะเร็ง


#โรคมะเร็ง #มะเร็ง #พันธุกรรม #ตรวจยีน #คัดกรองความเสี่ยงพันธุกรรม #เวชศาสตร์ชะลอวัย #AntiAgingMedicine #DNA


บทความจาก


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย

โรงพยาบาลพญาไท 1

Nurse Private Call 089-925-6510 โทร. 02 201 4600

Comments


2 Soi Rong Muang 5, Rong Muang Rd.

Rong Muang, Pathum Wan Bangkok 10330

Tel: 02 092 9222 Ext. 5107     |     Sales@benix.co.th

bottom of page