top of page

OUR

ARTICLES

  • โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

การดูแลสุขภาพ…. ผู้สูบบุหรี่

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การสูบบุหรี่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ที่สูบบุหรี่มาเป็นเวลานาน อาจไม่พบอาการผิดปกติอะไรที่เห็นชัดเจน แต่ความจริงแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกายอย่างช้าๆ หากปล่อยจนเกิดอาการ แสดงว่าโรคอาจจะดำเนินไปไกลแล้ว ดังนั้นจึงควรใส่ใจสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถปรึกษาแพทย์ได้ ตั้งแต่ก่อนเริ่มมีอาการ


การดูแลสุขภาพของผู้ที่สูบบุหรี่


อาการผิดปกติเบื้องต้นที่ควรมาพบแพทย์

> มีอาการระคายเคืองทางเดินหายใจอย่างสม่ำเสมอ

> ไอเรื้อรัง

> ไอมีเสมหะ หรือมีเลือดปน

> มีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก

> เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

โรค หรือความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่มีอะไรบ้าง และหากมาพบแพทย์จะได้รับการตรวจอะไรบ้าง?


โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือ โรคถุงลมโป่งพอง

ผู้สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 6 เท่า จึงควรได้รับการตรวจร่างกาย ดังต่อไปนี้

> ถ่ายภาพเอ็กซเรย์รังสีทรวงอก (Chest X-ray)

> ตรวจสมรรถภาพปอด (PFT : Pulmonary Function Test)

> ตรวจความอิ่มตัวของออกซิเจนในเม็ดเลือด

โรคมะเร็งปอด (Lung Cancer)

ผู้สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ 10 เท่า ควรได้รับการตรวจร่างกาย ดังต่อไปนี้

> ถ่ายภาพเอกซเรย์รังสีทรวงอก (Chest X-ray)

> ตรวจสมรรถภาพปอด (PFT : Pulmonary Function Test)

> เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (CT-Scan) ในกรณีที่พบความผิดปกติจากการตรวจรังสีทรวงอก

> ตรวจเลือดหาค่าสารบ่งชี้มะเร็ง (CEA)

> ตรวจความอิ่มตัวของออกซิเจนในเม็ดเลือด

โรคหลอดเลือดและเส้นเลือดหัวใจ

ผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า ควรได้รับการตรวจร่างกาย ดังต่อไปนี้

> ถ่ายภาพเอ็กซเรย์รังสีทรวงอก (Chest X-ray)

> ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography : EKG)

> ตรวจสมรรถภาพปอด (PFT : Pulmonary Function Test)

> ตรวจหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Ankle Brachial Index : ABI)

> ตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ดูหลอดเลือดหัวใจ (CT-Scan) ในกรณีที่พบความผิดปกติกจาการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ


การพบแพทย์และตรวจร่างกาย จะเป็นการช่วยดูแลสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ และเฝ้าระวังโรคร้ายแรงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น จนเป็นปัญหาและรบกวนการดำเนินชีวิตได้ แต่แนวทางที่ดีที่สุด คือ การเลิกสูบบุหรี่

หากต้องการจะเลิกบุหรี่ ควรทำอย่างไร

  1. ต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็ง ทั้งจากตนเอง และคนรอบข้าง โดยพยายามสร้างแรงจูงใจให้อยากเลิกบุหรี่

  2. ทำพฤติกรรมบำบัด โดยทั้งอุปกรณ์การสูบ ออกกำลังกาย หากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด

  3. หากเลิกไม่ได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาช่วย ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเลิกบุหรี่ประมาณ 40-60%

  4. คนรอบข้างควรติดตาม และให้กำลังใจ เพื่อป้องกันการกลับไปสูบใหม่


หากเลิกบุหรี่แล้วจะมีผลข้างเคียงอะไรหรือไม่

ผู้ที่สูบบุหรี่ทุกคนสามารถเลิกบุหรี่ได้ ถ้าได้รับคำแนะนำและกำลังใจที่ดี อาจจะมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น มีอารมณ์หงุดหงิด วิตกกังวล นอนไม่หลับ น้ำหนักตัวเพิ่ม หากเกิดอาการเหล่านี้ แนะนำให้ดื่มน้ำเย็นๆ หายใจเข้าออกลึกๆ ในเวลาที่รู้สึกหงุดหงิด ออกกำลังกาย และควบคุมอารมณ์ เพราะหลังจากหยุดบุหรี่แล้ว จะทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น โดยอาการต่างๆ เหล่านี้จะหายไปภายใน 3-4 วัน

เพื่อสุขภาพที่ดีของท่าน อย่าลืมใส่ใจดูแลสุภาพ ปรึกษาแพทย์ได้ตั้งแต่ก่อนมีอาการ


#บุหรี่ #สูบบุหรี่ #เลิกบุหรี่ #วิธีเลิกบุหรี่ #ความเสี่ยงจากบุหรี่


บทความจาก


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจและปอด

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา โทร 02-793-5099

Comments


2 Soi Rong Muang 5, Rong Muang Rd.

Rong Muang, Pathum Wan Bangkok 10330

Tel: 02 092 9222 Ext. 5107     |     Sales@benix.co.th

bottom of page