top of page

OUR

ARTICLES

โรงพญาบาลพญาไท

มะเร็งปอด โรคมะเร็งตัวร้าย ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้

มะเร็งปอด ใช่ว่าเกิดจากการสูบบุหรี่ หรือรับเอาควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ แม้คุณไม่ได้สูบบุหรี่


โรคมะเร็งปอด (Lung Cancer) ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้

มะเร็งปอด หมายถึง อุบัติการณ์ที่เซลล์ของเนื้อปอดมีการแบ่งตัวที่มากเกินปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ และมีการเจริญเติบโตลุกลามรวมกันกันเป็นเนื้องอก และยังแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้

มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบได้มากในประเทศไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย อันดับ 4 ในเพศหญิง ตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้ยาก เพราะอาการจะไม่ปรากฏ คนที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการที่โรคลุกลามแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าระยะใดก็มีหนทางในการดูแลรักษา และส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาว หรือดำรงชีวิตได้ดีขึ้น เมื่อได้รับการวินิจฉัยระยะและมีการรักษาที่ถูกต้อง


ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปอด

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมี 2 ประเภท คือ ปัจจัยภายในที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ หรือพันธุกรรม กับปัจจัยภายนอกซึ่งสามารถควบคุมได้ เช่น บุหรี่ สารพิษทางอากาศ เป็นต้น โดยปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปอดได้แก่

1. บุหรี่ พบว่าประมาณ 85% หรือมากกว่าของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีประวัติการสูบบุหรี่ สารในบุหรี่นั้นมีผลกระทบ โดยตรงต่อปอด มีประมาณ 60 ชนิดที่เป็นสารพิษและก่อมะเร็ง แม้ว่าหยุดสูบไปแล้ว แต่ความเสี่ยงก็ยังคงมี อยู่ พบว่าผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดสูงขึ้น 10 เท่า ยิ่งสูบมาก สูบนาน ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มสูง ขึ้น ทั้งนี้รวมถึงผู้ได้รับควันบุหรี่ด้วย (ร้อยละ 30 ของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่เสียชีวิตจากมะเร็งปอดจะเป็นผู้ที่อยู่

ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่)

2. ซิการ์และไปป์ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน

3. แอสเบสทอส (Asbestos) หรือแร่ใยหิน ใช้เป็นวัตถุไวไฟ แผ่นกันความร้อนตามอาคาร ฉนวนบางชนิด อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น การสูดดมแอสเบสทอสเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อปอด

4. เรดอน (Radon) เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น พบได้ทั่วไปตามแหล่งดินในธรรมชาติ หรือบริเวณที่มีแร่ยูเรเนียม โดยเรดอนจะระเหยขึ้นมาจากพื้นดิน ก๊าซนี้จะทำอันตรายต่อปอด

5. สารอื่นๆ เช่น โครเมียม นิกเกิล ฝุ่นจากอุตสาหกรรมหนัก ไอสารระเหยน้ำมัน เขม่าควันต่างๆ รวมถึง มลภาวะทางอากาศที่ไม่บริสุทธิ์

6. โรคเกี่ยวกับปอด ผู้ที่เป็นวัณโรคปอดจะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดมากขึ้น โดยมะเร็งปอดจะเกิดขึ้นที่ตำแหน่ง รอยแผลเป็นจากการเกิดเชื้อวัณโรคปอด


อาการ และอาการแสดง

ผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนใหญ่มักไม่ค่อยแสดงอาการจนกว่าโรคจะลุกลามไปมากแล้ว มีผู้ป่วยประมาณ 10-15% เท่านั้นที่ตรวจพบมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งมีโอกาสที่จะหายขาดสูง อาการ และอาการแสดงต่างๆ ของมะเร็งปอดมีดังต่อไปนี้คือ

> ไอเป็นเวลานาน ไม่ทุเลาเหมือนการไอปกติ แต่กลับเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

> หายใจเหนื่อยหอบ หายใจสั้น เสียงแหบ

> อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

> ไอ หรือมีเสมหะ ปนเลือด

> เจ็บหน้าอก หัวไหล่ หลัง และแขนเป็นประจำ (อาจเป็นเพราะก้อนเนื้อเบียดกดอยู่)

> เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

> มีอาการบวมบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือแขน

> โรคปอดบวม หรือหลอดลมอักเสบบ่อย

อาการดังกล่าวที่ได้กล่าวมาแล้ว มิใช่อาการของมะเร็งปอดระยะแรก เพราะมะเร็งปอดระยะแรกจริงๆ มักไม่มีอาการ แพทย์จะตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจเอกซเรย์ปอด จากการตรวจร่างกายประจำปี

สำหรับในปัจจุบัน กรณีที่สงสัยว่าคนไข้เป็นมะเร็งปอด คนไข้จะถูกส่งไปตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินหายใจด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ หลังจากที่ได้ทำการวินิจฉัยเป็นที่เรียบร้อยแล้วพบว่า คนไข้เป็นมะเร็งปอด แพทย์เจ้าของไข้จะนำผลการการวินิจฉัยเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ MDT Cancer ซึ่งเป็นทีมบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินหายใจ ด้านรังสีวินิจฉัย ด้านรังสีรักษา ด้านพยาธิวิทยา และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษามะเร็งด้วยยา ร่วมกันวางแผนการรักษาสำหรับคนไข้แบบเฉพาะบุคคล ซึ่งส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อการรักษาคนไข้ และทำให้คนไข้ได้รับผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุด


#มะเร็งปอด #LungCancer #ปอด #รักษามะเร็งปอด #อาการโรคมะเร็งปอด #ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปอด


บทความจาก


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์อายุรกรรมทั่วไป

โรงพยาบาลพญาไท 1

โทร. 02-201-4600 ต่อ 2166-67

Comments


2 Soi Rong Muang 5, Rong Muang Rd.

Rong Muang, Pathum Wan Bangkok 10330

Tel: 02 092 9222 Ext. 5107     |     Sales@benix.co.th

bottom of page