top of page

OUR

ARTICLES

  • โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

บุหรี่...มหันตภัยของผู้สูบและคนรอบข้าง

บุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญ อันดับสองของการเสียชีวิตทั่วโลก ครึ่งหนึ่งของคนที่สูบบุหรี่ทั่วโลกในปัจจุบัน คือ ประมาณ 650 ล้านคน จะเสียชีวิตจากบุหรี่และที่น่าตกใจยิ่งกว่านั้น คือ คนที่ไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิตในแต่ละปีด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก และทำความเข้าใจกับพิษภัย ของบุหรี่กันให้มากขึ้น เพื่อดูแลตนเองและคนที่คุณรักให้ปลอดจากพิษภัยของบุหรี่


ภัยของการสูบบุหรี่

อยากเลิกบุหรี่ ควรทำอย่างไร

1. ต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็งทั้งจากตนเอง และคนรอบข้าง โดยพยายามสร้างแรงจูงใจให้อยากเลิกบุหรี่

2. ทำพฤติกรรมบำบัด โดยทิ้งอุปกรณ์การสูบ ออกกำลังกาย หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด

3. หากเลิกไม่ได้ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อใช้ยาช่วย ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเลิกบุหรี่ 40-60%

4. คนรอบข้างควรติดตามและให้กำลังใจผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันการกลับไปสูบใหม่


หากเลิกบุหรี่แล้ว จะมีผลข้างเคียงอะไรหรือไม่

ผู้ที่สูบบุหรี่ทุกคนสามารถเลิกบุหรี่ได้ ถ้าได้รับคำแนะนำและกำลังใจที่ดี อาจจะมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล นอนไม่หลับ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเล็ก น้อย หากเกิดอาการเหล่านี้ แนะนำให้ดื่มน้ำเย็น หายใจเข้าออกลึก ๆ ในเวลาที่รู้สึกหงุดหงิด ออกกำลังกาย และควบคุมอาหาร เพราะหลังจากหยุดบุหรี่แล้ว จะทำให้รับประทาน อาหารได้มากขึ้นโดยอาการต่างๆ เหล่าจะหายไปภายใน 3-4 วัน


จะมีผลอย่างไร หากเลิกบุหรี่ไม่ได้

ในบุหรี่ 1 มวน จะให้ควันบุหรี่ประมาณเกือบ 1 ลิตร มีสารพิษมากกว่า 4,000 ชนิด อยู่ในสถานะของก๊าซ และอนุภาคขนาดเล็กต่างๆ ซึ่งเป็นสารก่อการระคายเคือง สารก่อ การกลายพันธุ์ และสารก่อมะเร็ง ดังนั้น การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ หลายชนิด โดยเฉพาะ

>> โรคหัวใจ และหลอดเลือด มีอัตราเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า

>> โรคถุงลมโป่งพอง มีอัตราเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ 6 เท่า

>> โรคมะเร็งปอด มีอัตราเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ 10 เท่า

>> อายุสั้นลงโดยเฉลี่ย 5-8 ปี

อาการผิดปกติอย่างไรบ้างที่ผู้สูบบุหรี่ควรมาพบแพทย์

>> ระคายเคืองทางเดินหายใจอย่างมาก พบอาการไอเรื้อรัง เสมหะมีเลือดปน

>> เจ็บบริเวณหน้าอก

>> เหนื่อยง่าย


ผู้ที่สูบบุหรี่มาเป็นเวลานาน อาจไม่พบมีอาการผิดปกติอะไรที่เห็นชัดเจน แต่ความจริงแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย หากปล่อยให้เกิดอาการ แสดงว่า โรคอาจจะดำเนินไปไกลแล้ว ดังนั้นจึงควรใส่ใจสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถปรึกษาแพทย์ได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มมีอาการ


หากสูบบุหรี่มานานต้องการมาพบแพทย์ จะได้รับการตรวจอะไรบ้าง

ถ้าสูบบุหรี่มานาน จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคที่สำคัญ ดังนี้

1. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ควรได้รับการตรวจ รังสีทรวงอก (Chest X-ray) ตรวจสมรรถภาพ

ปอด (PFT: Pulmonary Function Test), ตรวจความอิ่มตัวของออกซิเจนในเม็ดเลือดแดง

2. โรคมะเร็งปอด (Lung Cancer) ควรได้รับการตรวจ รังสีทรวงอก (Chest X-ray) ตรวจ

สมรรถภาพปอด (PFT), เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan) ในกรณีที่ความผิดปกติจากการตรวจ

รังสีทรวงอก, ตรวจเลือดหาค่าสารบ่งชี้มะเร็ง (CEA), ตรวจความอิ่มตัวของออกซิเจนในเม็ดเลือด

แดง

3. โรคหลอดเลือดและเส้นเลือดหัวใจ ควรได้รับการตรวจ รังสีทรวงอก (Chest X-ray) ตรวจคลื่น

ไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography : EKG), ตรวจสมรรถภาพปอด (PFT), ตรวจหลอดเลือดแดง

ส่วนปลาย (Ankle Brachial Index: ABI), ตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ดูหลอดเลือดหัวใจ (CT

Scan สไลซ์) ในกรณีที่พบความผิดปกติจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ


#บุหรี่ #ควันบุหรี่ #สูบบุหรี่ #เลิกบุหรี่ #โรคระบบหายใจ #โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง #โรคปอด #ปอด #มะเร็งปอด #โรคหลอดเลือด


บทความจาก


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์ระบบทางเดินหายใจและปอด

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์

โทร 02-006-9999


2 Soi Rong Muang 5, Rong Muang Rd.

Rong Muang, Pathum Wan Bangkok 10330

Tel: 02 092 9222 Ext. 5107     |     Sales@benix.co.th

bottom of page