top of page

มารู้จักกับ

เบนนิกซ์

โรงพญาบาลพญาไท

มะเร็งต่อมลูกหมาก...มะเร็งร้ายอันดับหนึ่งของผู้ชายสูงวัย

หลายงานวิจัยระบุว่ามะเร็งต่อมลูกหมากขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และอาหารการกินตามสไตล์คนยุโรป- อเมริกัน เช่น อาหารที่ให้พลังงานสูง หรืออาจเกิดจากพันธุกรรมก็ได้ ซึ่ง “มะเร็งต่อมลูกหมาก” มักเกิดในผู้ชายสูงอายุ โดยระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการ แต่จะพบในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่ออก มีเลือดปนในปัสสาวะ หรือบางรายอาจมีอาการต่อมลูกหมากอักเสบ หรือต่อมลูกหมากโตร่วมด้วย


มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก รู้ได้...ด้วยการตรวจสุขภาพ!

หากผู้ป่วยไม่สังเกตอาการตนเอง ไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA, Free PSA) อาจทำให้เจอโรคในระยะหลังๆ ที่มะเร็งกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะกระดูก จนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดเป็นจุดๆ ตามร่างกาย ดังนั้นการตรวจสุขภาพ ทำให้ปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกเริ่มมากขึ้น แพทย์จึงสามารถรักษามะเร็งต่อมลูกหมากได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย โดยแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้จาก

  1. การตรวจคลำหาก้อนมะเร็งทางทวารหนัก โดยแพทย์จะสวมถุงมือแล้วใช้นิ้วสอดเข้าไปทางทวารหนักเพื่อคลำขนาดรูปร่าง และความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก ซึ่งผู้ป่วยที่อาจเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมักจะมีลักษณะแข็งหรือขรุขระ

  2. การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง PSA เป็นการตรวจเลือดเพื่อดูค่าสารบ่งชี้มะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากมักจะมีค่า PSA สูงกว่าปกติ

  3. การตรวจอัลตราซาวนด์ต่อมลูกหมาก แพทย์จะใช้เครื่องมือสำหรับตรวจสอดเข้าทางทวารหนักไปยังตำแหน่งของต่อมลูกหมาก เพื่อหาตำแหน่งของก้อนเนื้อ แล้วจึงเก็บชิ้นเนื้อตัวอย่างออกมาตรวจว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่

มะเร็งต่อมลูกหมาก...รักษาได้ ด้วยวิธีเหล่านี้

  1. เฝ้าระวังและตรวจติดตามผู้ป่วยที่คาดว่าจะมีชีวิตอีกไม่เกิน 10-15 ปี และอยู่ในระยะแรกเริ่ม แต่หากเป็นในผู้ป่วยที่อายุยังไม่มาก มีอาการและชนิดของมะเร็งที่ไม่รุนแรงมาก แพทย์จะนัดมาตรวจคลำต่อมลูกหมาก ร่วมกับการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง (PSA) ในเลือด 3 - 4 ครั้งต่อปี และนัดตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากออกมาตรวจทุก 1 - 2 ปี

  2. ผ่าตัดต่อมลูกหมาก แพทย์มักใช้วิธีนี้กับผู้ป่วยที่มีสุขภาพโดยรวมแข็งแรง และคาดว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 10 ปี และมะเร็งยังไม่แพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น โดยผลข้างเคียงของการผ่าตัดคือผู้ป่วยอาจเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปัสสาวะลำบาก หรือมีปัสสาวะเล็ดได้

  3. การตัดลูกอัณฑะออก หรือการฉีดยาต้านฮอร์โมน สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการผ่าตัด หรือมะเร็งมีการกระจาย ออกนอกตัวต่อมลูกหมากไป

อย่าปล่อยให้ความเงียบของมะเร็งต่อมลูกหมากทำร้ายคุณ หมั่นสังเกตตนเอง ตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

รู้เร็ว...รักษาได้


#มะเร็ง #มะเร็งต่อมลูกหมาก #ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก #สารบ่งชี้มะเร็ง #PSA


บทความจาก


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ

โรงพยาบาลพญาไท 2

โทร. 02-617-2444 ต่อ 4125, 4185

Comments


2 Soi Rong Muang 5, Rong Muang Rd.

Rong Muang, Pathum Wan Bangkok 10330

Tel: 02 092 9222 Ext. 5103     |     Sales@benix.co.th

bottom of page