ทำไมลดน้ำหนักเท่าไหร่ก็ไม่ลงซักที ลองสารพัดวิธีทั้งอดอาหาร ควบคุมอาหาร จำกัดแคลลอรี่ จำกัดเวลาทานอาหารแบบ IF หรือแม้แต่การทานอาหารแบบคีโตเจนิค (Ketogenic Diet) ในขณะที่คนอื่นใช้วิธีเดียวกัน...แต่น้ำหนักกลับลด! ด้วยเหตุผลนี้ การตรวจลงลึกระดับ DNA Nutrition และ Fitness ตรวจไขมันทั่วร่างกาย DEXA Scan และ Urine Organic Profile เพื่อประเมินกระบวนการทำงาน Metabolism ของระบบในร่างกายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน วิธีการลดน้ำหนักจึงต้องดีไซน์เฉพาะบุคคลจึงจะสำเร็จ และอยู่อย่างยั่งยืน
อ้วน น้ำหนักเกิน...ทำไมจึงต้องกังวล!
ภาวะโรคอ้วน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และเหตุผลสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจกับภาวะความอ้วน นั่นก็เพราะสามารถนำไปสู่ความเสี่ยงโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน หรือข้อเสื่อม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีประชากรโลกกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ หรือกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก เข้าข่ายน้ำหนักเกิน (Overweight) และเป็นโรคอ้วน (Obesity)
โดยปี 2559 พบว่า ไทยมีประชากรที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรืออ้วนมากถึง 32.2% ซึ่งนับเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ถ้าหากคำนวณจากประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 60 ล้านคน ประเทศไทยจะมีคนอ้วนถึง 19 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 เลยทีเดียว
ทานน้อย แต่ทำไมยังอ้วน...นี่คือสาเหตุของภาวะอ้วนที่พบบ่อย
เชื่อว่าสิ่งนี้คือคำถามที่หลายๆ คนอยากทราบ เพราะโดยส่วนใหญ่จะมองว่าความอ้วนเกิดจากการทานอาหารที่มากเกินความต้องการของร่างกาย แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคอ้วนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งที่พบบ่อย ได้แก่
> การรับประทานอาหารมากเกินไป ร่างกายจึงสะสมอยู่ในรูปของเซลล์ไขมัน
> ใช้ชีวิตแบบมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เช่น การนั่งทำงานเป็นเวลานาน การขับรถแทนการเดิน การไม่ออกกำลัง กาย เป็นต้น
> การรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง เช่น การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมฟรุคโตสสูง High-Fructose Corn Syrup ซี่งมักพบในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน โซดา ลูกอม ไอศกรีม ครีมเทียม โยเกิร์ต น้ำผลไม้
> การใช้ยาบางชนิด ทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือยาต้านซึมเศร้าบางชนิด
> กรรมพันธุ์ โอกาสจะสูงขี้น ถ้ามีที่คนเป็นโรคอ้วนในบ้าน
> การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น การทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง จะลดการเผาผลาญใน ร่างกาย การเข้าสู่ภาวะวัยทอง การมีภาวะต่อมหมวกไตล้า ฮอร์โมนเพศต่ำ หรือการมีภาวะดื้ออินซูลิน ภาวะฮอร์โมนคอร์ติซอลไม่สมดุล โกรทฮอร์โมนลดลง ซึ่งมีผลต่อการสร้างกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ลดน้ำหนักยังไงก็ไม่ลง...อาจต้อง(ตรวจ)เจาะลึกถึงสาเหตุ
เมื่อการดูแลควบคุมลดน้ำหนักด้วยตนเองไม่สามารถลดน้ำหนักได้...นั่นแปลว่าการลดน้ำหนัก ไม่ใช่(แค่)การลดน้ำหนักที่จะทำแบบใดก็ได้อีกต่อไป แต่ต้องลงลึกในรายละเอียดที่มากกว่า ดังนั้นการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และการตรวจเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องย่อมเป็นทางเลือกที่ดี เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของน้ำหนักส่วนเกิน และอุปสรรคที่ทำให้ลดน้ำหนักด้วยตนเองไม่ประสบผลสำเร็จ สำหรับการประเมินเมื่อมีปัญหาน้ำหนักเกิน แพทย์จะพิจารณาดังนี้
> การพิจารณาประวัติอย่างละเอียด ได้แก่ โรคประจำตัว การใช้ยา กิจวัตรประจำวัน ลักษณะการใช้ชีวิต การรับ ประทานอาหาร การออกกำลังกาย
> บันทึกส่วนสูง น้ำหนัก คำนวณค่า BMI (ค่าดัชนีมวลกาย BMI สามารถคำนวณได้โดยใช้น้ำหนักตัว (หน่วย เป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเป็นเมตร) หรือ BMI = น้ำหนักตัว (กก.) / ส่วนสูง (ม.2)
> วัดเส้นรอบเอว และวัด Body Composition เพื่อดูปริมาณไขมัน และกล้ามเนื้อในแต่ละส่วนของร่างกาย เนื่องจากในกลุ่มที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก อาจทำให้การแปลผล BMI เกิดการคลาดเคลื่อนได้
> อาจมีการตรวจเพิ่มเติมที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล เช่น การตรวจวัดระดับฮอร์โมน วิตามิน การอักเสบใน เส้นเลือด การตรวจขบวนการเผาผลาญอาหารแต่ละชนิดในร่างกาย หรือการตรวจลักษณะทางพันธุกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนการรับประทาน ชนิดของการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อให้เห็นผลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เราไปดูกันว่า การตรวจลักษณะทางพันธุกรรม Circle Fitness Diet Pro, DEXA Scan, Urine Organic Profile คืออะไร การตรวจลักษณะทางพันธุกรรม เกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนักอย่างไร
เราต่างทราบกันดีว่า คนเราทุกคนไม่มีใครเหมือนใคร และ DNA ของคุณก็เช่นกันที่ไม่เหมือนกับใคร เพราะฉะนั้นอาหารและไลฟ์สไตล์ที่เหมาะกับตัวคุณก็ย่อมไม่เหมือนใครเช่นกัน ดังนั้นข้อมูลจากการตรวจลักษณะทางพันธุกรรม (DNA) ที่เราเรียกโปรแกรมนี้ว่า Circle Fitness Diet Pro ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ DNA Nutrition และ Fitness ที่ครอบคลุมการดูแลโภชนาการอาหารที่ร่างกายต้องการ รวมถึงการออกกำลังกาย และการเผาผลาญของร่างกาย เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ตรงกับ DNA จะสามารถช่วยเป็นแนวทางในการวางแผนสุขภาพในองค์รวม วางแผนโภชนาการ อาหารเสริม และการออกกำลังกาย
Circle Fitness Diet Pro ตรวจอย่างไร ทำให้ทราบข้อมูลด้านใดบ้าง
Circle Fitness Diet Pro เป็นการตรวจ DNA ในยีน 43 ยีน เพื่อประเมินความสัมพันธ์กับความต้องการสารอาหาร ความไวต่ออาหาร และการออกกำลังกาย ซึ่งจะรายงานผลแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
ความต้องการสารอาหาร ประกอบด้วย กรดโฟลิก วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินดี โอเมก้า3 และสารต้านอนุมูลอิสระ
ความไวต่ออาหาร ประกอบด้วย ความไวต่อคาร์โบไฮเดรต ไขมัน คาเฟอีน แอลกอฮอล์ เกลือ ความไวต่อรสชาติแล็กโทส และกลูเตน
การออกกำลังกาย สามารถบอกประสิทธิภาพของการใช้ออกซิเจน ประสิทธิภาพในการฟื้นตัว ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ สมรรถนะ และความทนทานเพื่อแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะกับคุณ
สุขภาพองค์รวม ที่ครอบคลุมการตอบสนองต่อการเผาผลาญ การตอบสนองต่อการอักเสบ การควบคุมความอยากอาหาร ความเสี่ยงต่อโรคอ้วน และการขจัดสารพิษ (Detoxification)
โดยมีวิธีการตรวจ คือ ส่งตรวจตัวอย่างจากเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้ม (Baccal Swab) ระยะเวลารายงานผล 30 วัน
DEXA Scan เป็นการตรวจไขมันและกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย เพื่อช่วยลดโอกาสเสี่ยงโรคร้ายแรง ซึ่งการตรวจด้วย DEXA Scan จะทำให้รู้ถึงปริมาณไขมันในแต่ละส่วน กล้ามเนื้อแต่ละมัดว่า แขน ขามีมวลกล้ามเนื้อแต่ละข้างเท่าไหร่ ควรออกกำลังกายส่วนใดเพิ่ม หรือลดส่วนใด
ทั้งนี้ เพื่อการออกแบบการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าปริมาณไขมันสะสมบริเวณอวัยวะในช่องท้อง หรือไขมันที่พุงบ่งบอกถึงปริมาณไขมันที่แขวนอยู่บริเวณลำไส้ และไขมันภายในอวัยวะช่องท้อง ซึ่งมีมากยิ่งเสี่ยง “โรคหัวใจ” “เบาหวาน” และ “สมองเสื่อม” การตรวจ DEXA Scan จึงสำคัญมากกว่าแค่ดูไขมันเพื่อลดน้ำหนัก
Urine Organic Profile อีกโปรแกรมการตรวจที่ไม่ควรมองข้าม
การตรวจหากรดอินทรีย์ในปัสสาวะ (Urine Organic Profile) เป็นการตรวจเพื่อแสดงถึงการทำงาน (Metabolism) ของระบบต่างๆ ในร่างกายว่าปกติหรือไม่ โดยการตรวจจะสามารถบอกได้ว่า ความต้องการวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในปฏิกิริยาต่างๆ ของร่างกาย การเผาผลาญสารอาหารต่างๆ เพื่อนำไปใช้สร้างพลังงานของเซลล์ สมดุลของสารสื่อประสาท การสัมผัส/ขับสารพิษของร่างกาย สมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร และความเสียหายของเซลล์ที่เกิดจากอนุมูลอิสระ จึงนับเป็นการทดสอบที่ครอบคลุมว่าร่างกายต้องการสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุปริมาณเท่าไหร่ จึงจะเพียงพอ และบอกถึงความผิดปกติในแต่ละระบบของร่างกายได้อีกด้วย
ใครบ้างที่ควรเข้ารับคำปรึกษาเพื่อลดน้ำหนัก
> ผู้ที่มีน้ำหนักเพิ่มมากกว่าปกติ หรือ BMI มากกว่า 25
> ผู้ที่พยายามลดน้ำหนักด้วยตนเองแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ
> ผู้ที่มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น บวมง่าย อ่อนเพลีย นอนหลับไม่สนิท เหนื่อยง่าย หิวบ่อย สร้างกล้ามเนื้อ ไม่ขี้น เป็นต้น
> ผู้ที่ต้องการทราบ ชนิดของอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสมของตัวเอง โดยมีทีมแพทย์เป็นผู้ช่วย เหลือแนะนำการปฏิบัติตน
แนวทางในการรักษาเพื่อการลดน้ำหนัก
แพทย์จะนำผลการตรวจที่ได้ทั้งหมด ประเมินสร้างแนวทางการรักษาแบบเฉพาะบุคคล เช่น กลุ่มที่ต้องการลดน้ำหนัก กลุ่มที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ กำหนดแนวทางการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล เช่น กลุ่มที่มีปัญหาลดน้ำหนักไม่ลงจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแต่ละชนิด ก็จะมีการรักษาที่ต่างกันไป
บทความจาก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์ทางการแพทย์ พรีเมียร์ไลฟ์เซ็นเตอร์
โรงพยาบาลพญาไท 2
โทร 02-617-2444 ต่อ 3857
Comments