Metabolic Syndrome คือ ภาวะอ้วนลงพุงที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน เนื่องจากไขมันในช่องท้องทำให้เกิดกลไกการเผาผลาญน้ำตาลผิดปกติ ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง ซึ่งภาวะเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และสมองทั้งสิ้น
จะรู้ได้ไงว่าเราเริ่มอ้วนลงพุง
เกณฑ์ในการวินิจฉัย Metabolic Syndrome สำหรับคนไทย มีดังต่อไปนี้
1. เส้นรอบวงเอว ชาย เกิน 90 เซนติเมตร หญิง เกิน 80 เซนติเมตร
2. ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
3. ระดับคอเลสเตอรอลดี (HDL-C) ชาย ต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หญิง ต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อ เดซิลิตร
4. ความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป (ความดันโลหิตตัวใดตัวหนึ่งสูงก็ถือว่าผิดปกติ)
5. ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
ดูแลด้านโภชนาการให้ดี ไขมันที่มีจะลดลง
> ลดน้ำหนัก ลดเส้นรอบวงเอว โดยการควบคุมพลังงานจากอาหารที่รับประทาน ลดกลุ่มข้าวแป้ง เพิ่มเส้นใยใน อาหารโดยให้มีผักนำทุกมื้อ ผักควรมีครึ่งหนึ่งของอาหารและอีกหนึ่งในสี่เป็นข้าวแป้ง และหนึ่งในสี่เป็นเนื้อสัตว์ ไขมันต่ำ ส่วนน้ำมันและน้ำตาลควรบริโภคแต่น้อย
> ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เลือกกลุ่มข้าวแป้งไม่ขัดสี เลี่ยงขนมหวาน คุกกี้ เค้ก ไอศกรีม น้ำหวาน น้ำผลไม้ และน้ำอัดลม ผลไม้เลือกรสชาติไม่หวานจนเกินไป และรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
> ควบคุมระดับไขมันในเลือด โดยการเลี่ยงอาหารมันๆ ทอดๆ เนื้อสัตว์ติดหนังมัน อาหารแปรรูป
> ควบคุมระดับความดันโลหิต โดยพยายามเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น เครื่องปรุงรสต่างๆ ผงชูรส อาหาร แปรรูป อาหารหมักดอง อาหารแช่แข็ง ขนมขบเคี้ยว และเบเกอรี่
> ออกกำลังกาย ควรออกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป
การที่จะพิชิตภาวะอ้วนลงพุงได้ต้องมีการควบคุมทั้งการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ
#อ้วนลงพุง #โรคอ้วน #ลดความอ้วน #Metabolic
บทความจาก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์ควบคุมนํ้าหนักและโภชนบำบัด
โรงพยาบาลพญาไท 3
โทร 02-467-1111 ต่อ 1839
Comentários