top of page

มารู้จักกับ

เบนนิกซ์

พญ.เมธชนัน เลิศชุณหะเกียรติ, โรงพยาบาลพญาไท

เข้าใจ “โรคนอนไม่หลับ” อาการหนักแบบไหนควรปรึกษาแพทย์

น้องนอนไม่หลับ หัวใจมันกระสับกระส่าย... หลายคนที่ได้ยินเพลงนี้อาจจะอยากลุกขึ้นมาเต้นขยับร่างกาย แต่สำหรับผู้ที่ประสบกับภาวะนอนไม่หลับนี้จริงๆ น่าจะไม่สนุกเหมือนในเพลงเป็นแน่ วันนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับโรคนอนไม่หลับฉบับย่อใน 5 ข้อ


โรคนอนไม่หลับ

1. สาเหตุของการนอนไม่หลับนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

> ทางจิตใจ ความเครียด หรือ ความวิตกกังวล พบว่าเป็นสาเหตุให้นอนไม่หลับมากที่สุด

> ทางกาย เช่น อาการเจ็บปวดทางกาย วัยหมดประจำเดือน อันมีผลมาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ปรับ ตัวอย่างรวดเร็ว โรคกรดไหลย้อน (GERD) โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) โรคขากระตุก ขณะหลับ (PLMD) และ โรคขาอยู่ไม่สุข (RLS) ซึ่งมักพบได้ในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ

> ภาวะอื่นๆ เช่น ร่างกายขับคาเฟอีนออกได้ช้า ออกกำลังกายหนักมากเกินไป ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด และสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการนอนหลับ (แสง เสียง อุณหภูมิ)


2. โรคนอนไม่หลับมีกี่รูปแบบ ?

> นอนหลับยากในช่วงเริ่มต้น เมื่อหัวถึงหมอนแล้วใช้เวลานานกว่า 20 นาทีในการหลับ

> ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อยาก เช่น เริ่มต้นนอนหลับง่ายแต่เมื่อตื่นขึ้นมากลางดึก หรือลุกเข้าห้องน้ำแล้วจะหลับ ต่อได้ยาก

> หลับได้ไม่นาน คือ หลับได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ 2-3ชั่วโมง และตื่นเป็นระยะๆ


3. โรคนอนไม่หลับส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ?

ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ภูมิคุ้มกันต่ำลงป่วยง่าย ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ความจำลดลง ความดันโลหิตสูง ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนง่าย ผิวหนังไม่แข็งแรงหย่อนคล้อย แลดูแก่ก่อนวัย ผื่นผิวหนังอักเสบ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ


4. วิธีแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับด้วยตัวเองเบื้องต้น ?

> กำจัดความเครียด ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย อันเป็นสาเหตุหลักของภาวะนอนไม่หลับ

> อาหารมื้อเย็นควรหลีกเลี่ยงชนิดที่ย่อยยากในปริมาณมาก เช่น เนื้อสัตว์ อาหารรสจัด

> ก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมง งดเล่นอุปกรณ์ที่มีแสงสว่าง เช่น ดูทีวี เล่นมือถือ ใช้งานคอมพิวเตอร์

> เตรียมตัวก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมง โดยเน้นกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือหรือนิตยสารเพลินๆ ฟัง

เพลงบรรเลง สวดมนต์ นั่งสมาธิ นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์

> หากมีอาการหิวก่อนเข้านอน ไม่ควรอด แนะนำให้ดื่มนมอุ่นๆ กล้วยครึ่งลูก หรือขนมปังครึ่งแผ่นเพียงเพื่อให้ หายหิว

> จัดสภาพแวดล้อมการนอนให้เหมาะสม ที่นอนและหมอนควรทำความสะอาดอยู่เสมอ ปรับอุณหภูมิที่ไม่หนาว หรือร้อนเกินไป 25°C เสียงเงียบ ไม่มีสิ่งรบกวน เช่น เสียงแอร์ดัง เสียงนาฬิกาเดิน เสียงสัตว์ร้อง แสงควร มืดสนิท หรือใช้ผ้าคาดปิดตาช่วย

> หากนอนไม่หลับเกินกว่า 30-60 นาที ควรลุกออกจากเตียงแล้วกลับมาเตรียมตัวก่อนเข้านอนอีกครั้งจนกว่า จะเริ่มง่วงนอนอีกครั้ง

> ฝึกนิสัยการเข้านอน ตื่นนอนให้เป็นเวลาทุกวัน และพยายามโดนแสงแดดอ่อนๆ ในเวลากลางวัน

> หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมอื่นๆ บนเตียง เพื่อสร้างความเคยชินให้กับร่างกายได้รู้สึกผ่อนคลายเมื่อล้มตัวลง

บนที่นอน เช่น การรับประทานขนมบนเตียง นอนดูทีวีบนเตียง เล่นมือถือ คอมพิวเตอร์ หรือคุยโทรศัพท์บน

เตียง เป็นต้น

> หากนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากการเดินทางเปลี่ยนสถานที่ หรือไปต่างประเทศ (Jet Lag) สามารถรับประทาน เมลาโทนิน เพื่อช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นได้


5. อาการหนักแค่ไหนถึงควรพบแพทย์เพื่อบำบัดรักษา ?

เมื่อนอนไม่หลับมากกว่า 3 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลานานกว่า 3 เดือน หรือภาวะนอนไม่หลับนี้ส่งผลต่อสุขภาพ กิจวัตรประจำวัน และการทำงาน ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจและประเมินหาสาเหตุที่แท้จริง



บทความจาก


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย

ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย

โรงพยาบาลพญาไท 3

โทร 02-467-1111

Comments


2 Soi Rong Muang 5, Rong Muang Rd.

Rong Muang, Pathum Wan Bangkok 10330

Tel: 02 092 9222 Ext. 5103     |     Sales@benix.co.th

bottom of page