การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ อาจจะไม่แสดงอาการให้เห็นในระยะเริ่มต้นสำหรับบางคน แต่ยังคงมีความเสี่ยงหากไม่ได้เข้าใจ หรือรับการรักษาที่ถูกต้อง ทางที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงการติดเชื้อ คือการทำความเข้าใจโรค และเรียนรู้วิธีป้องกันตั้งแต่แรก
การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มีชื่อเรียกโดยย่อว่า โรค STD (Sexually Transmitted Disease) เกิดจากการติดต่อผ่านกันทางเพศสัมพันธ์ กับผู้ที่มีเชื้อโรคนั้นๆ
เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคนี้ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ
1. เชื้อไวรัส ได้แก่ เริม (Herpes Simplex) หูดหงอนไก่ (Papilloma Virus หรือ HPV) เอดส์ (HIV)
2. เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ หนองในแท้ (Gonorrhea) หนองในเทียม (Chlamydia) ซิฟิลิส (Syphilis)
3. เชื้ออื่นๆ ได้แก่ เชื้อพยาธิ (Trichomanas) เชื้อรา (Candida)
อาการของโรคที่พบได้ คือ
> มีตกขาวผิดปกติ หรือตกขาวเรื้อรังเป็นๆ หายๆ
> ตกขาวมีกลิ่น มีอาการคัน หรือระคายเคือง
> มีตุ่ม มีผื่น หรือแผลบริเวณอวัยวะเพศ
> ปัสสาวะแสบขัด
> เชื้อบางชนิดอาจไม่แสดงอาการในระยะแรก หรือบางระยะโรค เช่น หูดหงอนไก่ชนิดที่ก่อมะเร็งปากมกลูก (High Risk Group HPV) เริม เอดส์ ซิฟิลิสบางระยะ เป็นต้น
วิธีการป้องกันโรค
ใช้ถุงยางอนามัย
ไม่เปลี่ยนคู่นอน
ไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เสี่ยงโรค
รักษาความสะอาดร่างกาย และอวัยวะเพศ
ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ
ศึกษาเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ หรือสงสัยว่าติดต่อโรค
การตรวจวินิจฉัยโรค
ควรพบแพทย์ เพื่อปรึกษาตรวจร่างกาย หรือตรวจภายในสตรี เพื่อค้นหาโรค เช่น ตุ่มเริม หูดหงอนไก่ เชื้อรา แพทย์จะนำตกขาว หรือสิ่งคัดหลั่งในช่องคลอด และปากมดลูก ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ตรวจหาเชื้อรา เชื้อพยาธิในช่องคลอด (Wet Smear หรือเชื้อหนองในแท้ หนองในเทียม) โดยการตรวจ PCR หรืออาจทำการตรวจเลือด เพื่อหาปฏิกิริยาต่อเชื้อนั้นๆ เช่น ซิฟิลิส หรือเอดส์ (HIV) เป็นต้น สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ
บทความจาก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์สุขภาพสตรี แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสินแพทย์
โทร 02-793-5000
Comments