ผลกระทบจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้มากกว่าที่เราคิด มาดูคำแนะนำ และการป้องกันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย เพื่อต่อต้านสารพิษต่างๆ ด้วยการตรวจค้นหาปริมาณสารอนุมูลอิสระ (Free Radical) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่จะช่วยในการวางแผนป้องกันโรค ชะลอความเสื่อมของร่างกาย และโรคเรื้อรังต่างๆ
ฝุ่นพิษ หรือ ฝุ่น PM 2.5 ที่เราๆ เริ่มคุ้นเคยกันมาบ่อยๆ ในช่วง 3-5 ปีนี้ คือ อนุภาคมลพิษทางอากาศขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน มีส่วนประกอบสำคัญหลัก คือ คาร์บอนอินทรีย์ สาร PAHs เกลือซัลเฟต เกลือไนเตรท โลหะหนัก ซึ่งมีสัดส่วนเปลี่ยนไปบ้างตามแหล่งกำเนิดของมลพิษและฤดูกาล เนื่องจากฝุ่นละอองพิษที่มีขนาดเล็กมาก จนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ความเข้มข้นและความรุนแรงของฝุ่น PM 2.5 นี้จะมีมากขึ้นในฤดูแล้ง (ช่วงเดือนธันวาคม – เมษายนของทุกปี)
การหายใจในพื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 มากก็จะทำให้มีการสูดดมเอาฝุ่นละอองเหล่านี้เข้าไปในร่างกาย และแทรกซึมลึกถึงถุงลมฝอยในปอด และเข้าไปสู่ทุกเซลล์ของระบบอวัยวะในร่างกายเราได้อย่างรวดเร็ว นอกจากตัวมันเองที่เป็นอันตรายแล้ว ยังพาเพื่อนเเก๊สมลพิษอื่นๆ ที่อยู่ปะปนกัน ตามเข้ามาในร่างกายเราด้วย จึงทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพแทบทุกระบบอวัยวะของร่างกาย ส่วนผลกระทบจะมากหรือน้อย ขึ้นกับปัจจัยสำคัญ ดังนี้
ระดับความเข้มข้นของ PM 2.5 ที่ได้รับ
ระยะเวลาที่ร่างกายได้รับสะสม
สัดส่วนของสารประกอบชนิดต่างๆ ในฝุ่น PM 2.5
สภาวะของร่างกายขณะได้รับ PM2.5 (เช่น ทารกในครรภ์มารดาและช่วงวัยต่างๆ ความไวต่อมลพิษของบุคคล ความเจ็บป่วยที่มีอยู่เดิม สุขภาพความแข็งแรงของร่างกาย)
ผลกระทบดังกล่าวอาจมีได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ มีอาการอักเสบแฝงในระบบอวัยวะจนเกิดอาการผิดปกติ ซึ่งเกิดได้ทั้งฉับพลันทันทีทันใด และแบบเรื้อรัง โดยผลกระทบตามระยะต่างๆ อาจทำให้เกิดโรคขึ้นใหม่ หรือทำให้โรคเดิมรุนแรงขึ้นทำให้เซลล์ของอวัยวะต่างๆ เสื่อมจนทำให้อวัยวะทำงานเสื่อมเร็ว และรุนแรงขึ้นอาจทำให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง ตัวอย่างผลกระทบจาก PM2.5 ต่อระบบอวัยวะสำคัญหลักในการดำรงชีวิต ได้แก่
> ระบบการหายใจ ที่พบได้เร็วและบ่อย (เช่น โพรงจมูกอักเสบทั้งแบบภูมิแพ้ และติดเชื้อหลอดลม กล่องเสียง และหลอดลมอักเสบ หอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดอักเสบ) ยังทำให้เกิดการติดเชื้อ (เช่น ไวรัสไข้หวัด ไวรัสไข้หวัดใหญ่ แบคทีเรีย) ได้ง่าย และรุนแรงมากขึ้นหลายเท่า
> ระบบหัวใจ (กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้ม เหลว)
> ระบบหลอดเลือด (หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองเสื่อม โรค Stroke ของหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หลอดเลือดดำอุดตัน)
> ระบบสมอง (สมองด้อยประสิทธิภาพ สมองเสื่อม สมาธิสั้น และระบบจิตประสาท (อารมณ์แปรปรวน ความ ผิดปกติทางจิตแบบซึมเศร้า และฆ่าตัวตาย)
> มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งของอวัยวะต่างๆ (โดยเฉพาะมะเร็งปอด)
คำแนะนำในการป้องกันและดูแลตนเองในช่วงที่มีวิกฤตฝุ่นพิษ
1. ติดตามค่าดัชนีคุณภาพอากาศในบริเวณที่ตัวเองอยู่ หรือจุดใกล้เคียงที่สุดเป็นระยะๆ หากไม่มีค่าคุณภาพ อากาศในบริเวณใกล้เคียง อาจใช้เครื่องวัด PM 2.5 แบบพกพา ที่พอจะตรวจวิเคราะห์ค่าเทียบเท่ามาตรฐาน ได้ นำมาใช้ในการวางแผนดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น หลีกเลี่ยงพื้นที่นั้น หรือใช้เวลาทำกิจกรรมอยู่ ในพื้นที่นั้นๆ ให้น้อยที่สุด
2. ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อไม่ให้มลพิษอากาศเข้ามาสะสมในอาคาร และใช้เครื่องฟอกอากาศในอาคารที่ทำงาน หรือ อยู่อาศัย เช่น ห้องทำงาน ห้องนอน หรือห้องที่อยู่อาศัยเป็นเวลานาน หากปิดห้องนานๆ ระบบไหลเวียน อากาศไม่เพียงพอ (รู้สึกอึดอัด ปวดหรือมึนศีรษะ) ให้เปิดแง้มห้องเพื่อระบายอากาศระยะสั้นๆ แล้วปิดตาม เดิม อาจต้องทำสลับเช่นนี้ จนคุณภาพอากาศลดลงมาอยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับแต่ละบุคคล
3. ควรสวมหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ (N-95) และสวมให้ถูกวิธี จำเป็นต้องเลือกขนาดที่ใส่ ได้กระชับกับรูปจมูกและใบหน้า หากเริ่มอึดอัด หรือเหนื่อยให้ถอดออกเพียงชั่วครู่ ก็จะรู้สึกสบายขึ้นแล้วรีบ สวมใหม่ ทำสลับกันไปเช่นนี้ จนดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยกับตนเอง
4. ผู้ที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิม เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบมากยิ่งขึ้น ควรงดเว้นการออกไปในบริเวณที่มีปริมาณ ฝุ่นมลพิษปริมาณมาก หากจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย หลังเสร็จกิจกรรมให้อาบน้ำชำระล้าง ทำความสะอาดผิวหนัง ทาโลชั่น หรือครีมบำรุงผิว ก็จะช่วยลดการสัมผัสโดยตรงต่อฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ได้
5. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร หรือในอาคาร(โรงยิม)ที่ไม่มีระบบฟอกอากาศนานๆ หรืออาจต้องงด ออกกำลังกาย หรือปรับให้เหมาะสมกับระดับคุณภาพอากาศในช่วงเวลานั้น และปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล
6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในอาคารที่ไม่มีระบบฟอกอากาศ
7. ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือโรคระบบหายใจเรื้อรัง เช่น หอบ หืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรหมั่นสังเกตอาการ โรคกำเริบ ถ้ามีอาการควรใช้ยา หรือรักษาเบื้องต้นตามคำ แนะนำของแพทย์ แนะนำให้ไปพบแพทย์โดยเร็ว หากอาการไม่หายเป็นปกติ
8. ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว หรือสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี ถ้ามีอาการผิดปกติที่รบกวนชีวิตประจำวัน ควรรีบพบ แพทย์เช่นกัน อาการสำคัญที่ควรรีบไปพบแพทย์อย่างฉุกเฉิน ได้แก่ แน่นอก หรือเจ็บหน้าอก หรือเจ็บท้องใต้ ลิ้นปี่ เหมือนมีของหนักกดทับ เหนื่อยหอบผิดปกติ ปวดมึนศีรษะ ชา หรืออ่อนแรงที่ใบหน้าหรือแขนขาซีกใด ซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน มุมปากตก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ออก สับสน มองไม่เห็นฉับพลัน อาการไอเป็น ชุดๆ ไอมีเสียงดังหวีด มีไข้ และหอบเหนื่อย เป็นต้น
9. สวมใส่แว่นตาขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันดวงตาจากมลพิษ ใช้น้ำเกลือมาตรฐานล้างตาหากรู้สึกระคายเคืองตา
10. ใช้น้ำเกลือล้างจมูก เพื่อล้างฝุ่นควันลดอาการคัดจมูก หรือกลั้วคอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ
11. หลีกเลี่ยงก่อมลพิษ เช่น ไม่เผาทุกชนิด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ใช้รถควันดำ หรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถ้าพบ เหตุการณ์เผาป่าหรือหญ้าข้างทาง
บทความจาก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Wellness Center
โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา
โทร 02-793-5099
Kommentare