top of page

มารู้จักกับ

เบนนิกซ์

  • นพ.พิษณุ สุนทรปิยะพันธ์, โรงพยาบาลพญาไท

หัวใจวายขณะวิ่ง! ภัยเงียบที่ป้องกันได้ด้วยการตรวจสุขภาพหัวใจก่อนการวิ่ง

การออกกำลังกายนับเป็นข้อควรปฏิบัติที่ดีต่อสุขภาพ แต่หากคุณเพิ่งเริ่มต้นเป็นนักวิ่งมือใหม่ หรือเป็นนักวิ่งมือโปรอยู่แล้ว แต่ต้องการอัพเลเวลการวิ่ง หรือการออกกำลังกายให้หนักขึ้น การตรวจสุขภาพก่อนการออกกำลังกายและการวิ่ง (Cardiovascular Pre-Participation Screening) ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงของโรคหัวใจ และป้องกันการเสียชีวิตเฉียบพลันขณะออกกำลังกาย


หัวใจวายขณะวิ่ง

ร่างกายแข็งแรง...ไม่ได้แปลว่าไม่เสี่ยงโรคหัวใจ

จากสถิติพบการเสียชีวิตเฉียบพลันในกลุ่มนักวิ่งที่ร่างกายแข็งแรง (Healthy Long-Distance Runners) ประมาณ 1 ต่อ 15,000 ถึง 1 ต่อ 150,000 ต่อปี หรือแปลง่ายๆ ว่า ถ้าใน 1 ปีนั้น มีนักวิ่งเข้าแข่งขันประมาณ 200,000 คน ก็จะพบผู้เสียชีวิตเฉียบพลันอยู่ที่ประมาณ 1-2 ราย


ใครบ้าง? ที่เข้าข่ายว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง

> ผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่า เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน

> ผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่า เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ โรคหัวใจแต่กำเนิด หัวใจล้มเหลว หรือโรคหัวใจ และหลอดเลือดร่วมกับหัวใจขาดเลือด การเต้นหัวใจผิดปกติรุนแรง หรือ การทำงานของหัวใจผิดปกติ

> ผู้ที่มีอาการที่เข้าได้กับโรคหัวใจ และหลอดเลือด เช่น แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก เจ็บบริเวณกราม หรือเหนื่อย ง่าย หายใจไม่สะดวกเวลานั่ง เวลานอนราบ เวลาออกกำลังกาย เวลายกของหนัก เวลาโมโห ตื่นเต้น หายใจ ไม่สะดวกเวลากลางคืน จนต้องตื่นลุกมานั่งหายใจ ใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นผิดจังหวะ รู้สึกเวียนศีรษะ จะเป็นลม หรือเคยหมดสติ โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย หรือเวลาลุกเปลี่ยนท่า

> ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ประวัติครอบครัวญาติสายตรง (ชายอายุน้อยกว่า 55 ปี หญิง อายุน้อยกว่า 65 ปี) ที่ป่วย หรือตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ เป็นเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง ไขมันผิดปกติ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ

> ผู้ที่สงสัย หรือไม่แน่ใจว่าตนเองเสี่ยงหรือไม่


การตรวจสุขภาพก่อนการออกกำลังกายและวิ่ง ประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. การซักประวัติ อาทิ ความสม่ำเสมอในการออกกำลังกาย ระดับความหนักที่ต้องการออกกำลังกาย อาการที่ เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ เช่น หน้ามืด เป็นลม เเน่นหน้าอก ใจสั่น ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ รวมทั้งประวัติ ครอบครัว เป็นต้น

2. การตรวจร่างกาย โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด

3. แบบประเมินมาตรฐาน เช่น PAR-Q+

4. การส่งตรวจเพิ่มเติม เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ เช่น ค่าไขมันในเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)

5. การส่งตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่น Exercise Stress Test, Echocardiogram, Cardiac Imaging


ไม่ว่าอย่างไรแล้ว การวิ่งออกกำลังกายก็ยังคงเป็นพฤติกรรมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพองค์รวม เพียงแต่ขอฝากไว้...ให้นักวิ่งใส่ใจประเมินตนเอง ไม่มองข้ามสัญญาณเตือนที่เกิดขึ้น ไม่หักโหมออกกำลังกายจนหนักเกินไป และถ้าหากมีอาการผิดปกติก็ไม่ชะล่าใจที่จะเข้ามาตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


#การวิ่ง #วิ่ง #ออกกำลังกาย #หัวใจวาย #โรคหัวใจ #ตรวจสุขภาพ


บทความจาก


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ

โรงพยาบาลพญาไท 2

โทร 02-271-6400

Comments


2 Soi Rong Muang 5, Rong Muang Rd.

Rong Muang, Pathum Wan Bangkok 10330

Tel: 02 092 9222 Ext. 5103     |     Sales@benix.co.th

bottom of page