COVID-19 เป็นเชื้อไวรัสในกลุ่มโคโรนา (Coronavirus) ชนิดใหม่ ก่อให้เกิดการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งอาการมีได้ตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงอาการหนัก ในผู้ป่วยบางราย COVID-19 สามารถทำให้เกิดปอดติดเชื้อ ภาวะไตล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้ โดยเชื้อไวรัสนี้ติดต่อได้จากเสมหะหรือน้ำลายขณะไอ จาม รวมไปถึงพูดคุยอย่างใกล้ชิด
รู้จักโคโรนาไวรัส หรือ COVID-19 ให้มากขึ้น
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization ; WHO) ระบุว่า COVID-19 มีการระบาดทั่วโลก และตอนนี้ยังไม่มียา หรือวัคซีนสำหรับรักษาและป้องกัน COVID-19 โดยเฉพาะ ซึ่งลักษณะอาการทั่วไปจะคล้ายกับอาการไข้หวัดธรรมดา คือ มีไข้ ไอแห้ง หรือจาม หายใจไม่สะดวก อ่อนเพลีย และปวดเมื่อยตามตัว โดยผู้ป่วยจะมีอาการ 3 – 7 วันหลังจากสัมผัสไวรัสนี้ แต่บางรายอาจใช้เวลาถึง 14 วันจึงแสดงอาการ
ไม่ว่าใครก็สามารถติดไวรัสนี้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ (มากกว่า 80%) ผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะมีอาการไม่รุนแรงหรืออาจไม่มีอาการเลย ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นที่จะต้องไปรักษาที่โรงพยาบาล แต่ก็จะมีผู้ป่วยประมาณ 15% ที่มีอาจมีอาการรุนแรง และ 5% ที่อาจมีอาการรุนแรงมาก ซึ่งควรรับการรักษาอย่างใกล้ชิด โดยผู้ป่วยที่สูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคหอบหืด มีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อ COVID-19 ได้รุนแรงกว่า
เบาหวาน เพิ่มโอกาสเสี่ยงโรคแทรกซ้อน
การติดเชื้อในผู้ป่วยเบาหวาน จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนและควบคุมได้ยาก ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ อธิบายได้จาก 2 เหตุผล
> เหตุผลแรกคือ ภูมิคุ้มกันต่ำลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
> อีกเหตุผลคือ เชื้อมักเจริญเติบโตได้ดีในภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง
และเพราะว่า COVID-19 สามารถมีชีวิตรอดในธรรมชาติได้เป็นชั่วโมงหรือวัน ขึ้นอยู่กับพื้นผิววัสดุและสภาพแวดล้อม มันจึงสามารถติดต่อผ่าน “การสัมผัส” พื้นผิวที่มีเชื้อ ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรป้องกันด้วยการล้างมือและงดการเข้าพื้นที่ที่มีผู้คนแออัด
ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลความเสี่ยง
> ล้างมือให้สม่ำเสมอ
> หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณใบหน้า ควรล้างมือ และทำให้มือแห้งสะอาดก่อนสัมผัสใบหน้า
> ทำความสะอาดวัตถุ หรือบริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ
> เวลาไอหรือจาม ควรนำต้นแขนหรือข้อพับแขนมาปิดบริเวณปากและจมูก ไม่ควรใช้มือปิดเนื่องจากมืออาจไป สัมผัสวัตถุสิ่งของอื่นต่อ เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ
> หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงต่อโรคไวรัสนี้ เช่น มีอาการไอหรือจาม
> คอยแนะนำหรือพูดคุยกับคนในครอบครัวให้ป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ เช่น เลี่ยงการเดินทางด้วยรถ โดยสารที่แออัด หลีกเลี่ยงการไปเที่ยว หรือควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีผู้คนชุมนุมกันจำนวนมาก
เช็คให้ชัวร์ เตรียมพร้อมรับมือ ฉบับผู้ป่วยเบาหวาน
> ตั้งใจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น
> หากคุณมีอาการไข้สูง ไอ จาม หรือหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเสมหะร่วม ด้วยบ่งบอกว่ามีการติดเชื้อ คุณควรได้รับการรักษาโดยทันที
> การติดเชื้อทุกชนิดสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ จึงควรดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
> เช็คดูว่ายารักษาเบาหวานมีเพียงพอหรือไม่ หากคุณต้องถูกกักตัวอยู่บ้านเป็นเวลา 1 – 2 สัปดาห์
> สำรองอาหาร โดยเฉพาะประเภทน้ำตาลอย่างเพียงพอ สำหรับการแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำได้ทันท่วงที
> ถ้าหากคุณอยู่บ้านคนเดียว หาคนที่สามารถไว้วางใจและมั่นใจว่าจะช่วยเหลือคุณได้หากคุณต้องการความช่วย เหลือ
บทความจาก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ
โรงพยาบาล พญาไท 3
โทร 02-467-1111 ต่อ 1839-1840
Comments